Thursday, April 24, 2014

พฤติกรรมกระรอก

พฤติกรรมของกระรอก...

กระรอกแป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางวัน (ยกเว้นตระกูลกระรอกบิน) แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะออกหาอาหารในช่วงเช้ามืดหรือตอนเย็น เราสามารถพบกระรอกอยู่เป็นกลุ่มได้ในต้นไม้ที่ออกผลมาก มีความเชื่อกันว่ากระรอกตัวที่โตเต็มที่นั้นจะแบ่งเมล็ดพืชให้กับกระรอกที่ยังเล็กอยู่ เชื่อกันว่ากระรอกนั้นจะซ่อนอาหาร อย่างเช่นผลไม้สุก ไว้ในรอยแตก หรือรอยแยกของกิ่งไม้
อาณาเขตของที่อยู่อาศัยของกระรอกที่โตเต็มวัยนั้นอาจซ้อนเหลื่อมกัน
แต่บริเวณที่เกิดการซ้อนเหลื่อมนี้อาจขยายอาณาเขตมากขึ้นเมื่อตัวเมียมีน้อยลงและอาจทำให้กระรอกมาเผชิญหน้ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ กระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตจะไล่กระรอกตัวอื่นไปจนกระทั่งกระรอกตัวนั้นออกจากอาณาเขตของตนไป หรือกระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลยแล้วใช้ชีวิตตามปกติต่อไป กระรอกตัวที่ปกครองเป็นใหญ่ในบริเวณนั้นจะยังคงอยู่โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เป็นที่หาอาหารประจำและมีกระรอกอยู่ทั้ง 2 เพศ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดชีวิตของมัน  
..เขตที่พบกระรอก...
กระรอกเป็นสัตว์ที่พบว่ามีอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นในทวีปออสเตรเลีย, ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้, และบริเวณทะเลทราย  กระรอกสามารถอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกัน  ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนไปจนถึงเขตอาร์คติกทุนดรา   และจากชั้นเรือนยอดของต้นไม้ไปจนถึงโพรงใต้ดิน
...ถิ่นที่อยู่อาศัย...
โดยส่วนใหญ่แล้วกระรอกจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.8 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1455 มม. จะสามารถพบกระรอกได้มากในป่าเขตอบอุ่นโดยเฉพาะป่าที่มีไม้ผลมาก สำหรับในประเทศไทยนั้นสามารถพบเห็นกระรอกได้ทุกภูมิภาค แต่จะพบได้มากที่ภาคใต้และพบว่ามีจำนวนน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระรอกบางพันธุ์นั้นจะสามารถพบได้เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น เช่น พญากระรอกเหลือง กระรอกสามสี กระรอกหางม้าใหญ่ กระรอกหน้ากระแต ซึ่งกระรอกเหล่านี้ล้วนเป็นกระรอกพันธุ์หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์
...อาหารของกระรอก...
กระรอกในประเทศไทยนั้นก็มีลักษณะการหาอาหารคล้ายกับกระรอกต้นไม้อื่นๆ คือ ดำรงชีวิตด้วยการกินใบไม้ ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง ผลไม้เปลือกแข็ง และโคนต้นสน กระรอกเหล่านี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ แต่บางเวลาหากินบนพื้นดิน และแน่นอนว่าอาหารส่วนใหญ่ของกระรอกล้วนเกี่ยวกับต้นไม้ ทำให้กระรอกมักจะเก็บสะสมอาหารอยู่บนกิ่งไม้ กระรอกมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและอาหารตามฤดู ในฤดูหนาว กระรอกจะกินดอกที่ยังอ่อนๆ ของต้นแต้ฮวย ซึ่งจะออกดอกตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายนในปีถัดไป จากนั้นกระรอกจะเปลี่ยนมากินใบไม้ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนกระรอกก็จะเริ่มกินผลไม้ เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาถึง กระรอกจะกินแมลงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมดที่กำลังกักตุนอาหารก่อนที่ฤดูหนาวจะมาเยือน
...พฤติกรรมการกินอาหารของกระรอก...
- อาหารหลัก : กระรอกเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมากจะกินผลไม้และธัญพืช
- อาหารที่เป็นสัตว์ : แมลง บางครั้งกระรอกจะกินแมลงเมื่อต้องการแร่ธาตุบางชนิด
- อาหารที่เป็นพืช : ได้แก่ ใบไม้ เมล็ดพืช ธัญพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และผลไม้
- พฤติกรรมการหาอาหาร : มีการสะสมหรือซ่อนอาหารไว้กินในฤดูหนาว

เลี้ยงลูกกระรอก

การเลี้ยงดูกระรอกทั่วไป...
การเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกกระรอก (อายุไม่เกิน2เดือน)
สำหรับการเลี้ยงลูกกระรอกวัยแรกเกิดหรือ เตาะแตะนั้น คุณจะต้องทำหน้าที่แทนแม่ของเจ้าตัวน้อยค่ะ คุณต้องสามารถดูแลเอาใจใส่ และมีเวลาอยู่กับเจ้าตัวน้อยเกือบตลอดเวลา ประหนึ่งแม่ที่ดูแลทารกน้อย

หลักการดูแลลูกกระรอก
1.ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่น คุณจะต้องให้เจ้าตัวน้อยได้รับความอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกระรอกวัยนี้ยังแบเบาะ อ่อนแอมาก ถ้าจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในช่วงที่มีอากาศหนาว หรือเย็นอาจจะต้องใช้ถุงน้ำร้อนมาช่วยทำให้เจ้าตัวน้อยอบอุ่น หาผ้าหนาๆมาให้นอน ไม่ควรตั้งที่นอนของเจ้าตัวน้อยไว้ตากลม หรืออยู่ในห้องแอร์(ถ้าจำเป็นก็ควรหามุมที่อบอุ่นที่สุด)
ไม่เช่นนั้นน้องกระรอกจะไม่สบาย ถ้ากระรอกเป็นหวัดอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
และไม่เฉพาะ ความอบอุ่นทางกายเท่านั้น ลูกกระรอกจะชอบซุกตัวนอนในมือของเรา และจะหลับอย่างสบายในมืออบอุ่นของเจ้าของ เจ้าตัวน้อยมักจะร้องบ่อยๆ เหมือนเด็กเรียกหาแม่ ควรจะให้เวลาเขาได้นอนอยู่ในมือของเราทุกๆวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยและสายสัมพันธ์ต่อกันด้วย




2.การขับถ่าย ลูกกระรอกที่เล็กมากๆจะไม่สามารถถ่ายเองได้ จำเป็นต้องช่วยกระตุ้น
ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำอุ่นๆเช็ดที่ก้นและที่ฉี่เหมือนที่แม่กระรอกจะเลียให้ถ่ายออกมา เพราะถ้าไม่ถ่ายก็จะท้องอืดตายได้ อึของเจ้าตัวน้อยทั่วไปแล้วจะไม่ค่อยเป็นก้อนเป็นเพราะอาหารที่กินเข้าไป มักจะถ่ายเป็นสีเข้มนิ่มๆจนถึงเป็นก้อน แต่ไม่ควรมีสีอ่อนมากเกินไป หรือเละเกินไป ถ้ามีสีอ่อนเละ หรือเป็นของเหลว ควรตรวจสอบเรื่องอาหาร และรีบพาไปพบหมอโดยด่วน

3.การให้อาหาร อาหารสำหรับลูกกระรอกนั้น ห้ามให้น้ำนมวัวเป็นอันขาด เพราะในนมวัวนั้นลูกกระรอกเล็กๆจะย่อยไม่ได้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และตายไปในที่สุด เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกกระรอกส่วนใหญ่ตายมากที่สุด อาหารที่แนะนำคือ ซีลีแลค (อาหารเสริมสำหรับเด็ก) อาจใช้เป็นสูตรเริ่มต้นก่อน(ราคาประมาณ 45 บาท) ชงกับน้ำร้อน 1ต่อ 3-4(ซีลีแลค1ส่วน น้ำ 3-4ส่วน) หรือเอาใส่ไมโครเวฟต้มประมาณ 20 วินาที(ระวังจะล้นในขณะที่ต้มต้องคอยดู) หรือเป็นนมสำหรับเลี้ยงลูกสนุขหรือลูกสัตว์เล็กๆ ซึ่งจะมีราคาแพงใช้ในกรณีที่คุณหมอแนะนำ หากลูกกระรอกไม่สามารถกินซีลีแลคได้

ปริมาณในการให้อาหาร ลูกกระรอกเล็กๆจะกินบ่อยเหมือนกับเด็กทารก คืออย่างน้อยทุกๆ 3-4ชั่วโมง หรือ วันละ 5 ครั้งขึ้นไป โดยใช้Dropper หรือหลอดสำหรับดูดที่มีจุกยางสีส้มป้อน อย่าให้มากเกินไป 2-3 หลอดก็พอ ถ้าอิ่มมากไปจะท้องอืดได้ และอย่าปล่อยให้หิวเกินไปเพราะจะทำให้ เจ้าตัวน้อยรีบกินจะทำให้เลอะเข้าจมูก หรือสำลักได้ จะเป็นอันตรายกับเจ้าตัวน้อยในที่สุด

4.ป่วย ถ้าเจ้าตัวน้อยไม่สบายควรรีบพาไปหาหมอเพราะมีโอกาส เกิดอาการเฉียบพลันได้ง่าย โรคที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยไว้ดูอาการ จะสายเกินไป
โรคท้องอืด สำหรับเจ้าตัวน้อยที่ไม่ถ่ายก็เป็นอันตรายถึงตายได้ เมื่อให้อาหารแล้วสักพักหนึ่ง ควรมีการเช็ดก้นด้วยสำลีชุบน้ำอุ่นเพื่อนกระตุ้นให้ถ่าย น้องกระรอกที่ท้องอืด ท้องจะบวมผิดปกติ ก้น ถ้าถ่ายไม่ออกนานๆ ก้นจะบวม แดง ถ้าไม่สามารถทำให้ถ่ายได้ ควรพาไปหาหมอ
โรคท้องเสีย มักเกิดจากอาหาร เช่นให้นมวัว (ไม่ควรให้เด็ดขาด) หรือไม่สามารถกินซีลีแลคได้ หรือสาเหตุอื่นๆ จะมีอาการถ่าย เละเป็นสีอ่อนๆ หรือเป็นของเหลว ก้นจะเปียก เซื่องซึม ซึ่งเป็นอาการขั้นรุนแรง ควรสังเกตการถ่ายของเจ้าตัวน้อยอยู่เสมอถ้ามีอาการที่เริ่มจะท้องเสียควรตรวจสอบอาหาร และรีบไปพบคุณหมอทันทีอย่าปล่อยไว้ เพราะอันตรายมากสำหรับลูกกระรอกที่อายุน้อย
โรคหวัด เกิดจากอากาศหนาว หรือน้องกระรอกไม่ได้รับความอบอุ่นพอเพียง จะมีอาการจมูกแห้ง (เริ่มไม่สบาย) ซึ่งปกติแล้วจมูกของน้องกระรอกจะ ชื้นเล็กน้อย ถ้าไม่สบายแล้วจะมีน้ำมูกใสๆออกมา หรือจามบ่อยๆ ถ้าเป็นมากจะไม่ค่อยกินอาหารหรือซึมๆ ซึ่งจะดูได้ยากเพราะช่วงอายุนี้ น้องกระรอกจะนอนเป็นส่วนใหญ่ ขั้นต้นคือทำให้อบอุ่นมากๆ แล้วรีบพาไปหาหมอ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ลุกลามเป็นปอดบวมและตายได้ในที่สุด


5.ยังไม่ลืมตา สำหรับคนที่เลี้ยงลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตา ควรดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะมี
โอกาสตายสูงมากหากเลี้ยงไม่เป็น หรือไม่เอาใจใส่ ควรช่วยกระตุ้นให้เจ้าตัวน้อยลืมตาบ้างด้วยการ ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดเบาๆที่ตา เหมือนแม่ของเจ้าตัวน้อย

กระรอก

กระรอกสายพันธุ์ต่างๆ


กระรอกสิงหลังเงิน
      กระรอกสิงหลังเงิน เป็นกระรอกที่มีสีหลักเป็นสีแดง จุดสังเกตว่าคือ โคนหาง กระรอกสายพันธุ์นี้จะมีโคนหางเป็นสีขาว หรือสีทองคล้ายกับสวมวงแหวนหนาๆ ที่โคนหางอยู่ ส่วนสีบางตัวที่สีสันสวยงามหน่อยจะมีสีขาวหรือสีทองไปถึงกลางหลัง






กระรอกดำ ชลบุรี
      กระรอกดำ ชลบุรี กระรอกหลากสี ( Variable Squirrel) เป็นกระรอกขนาดกลางมีสีสันหลากหลายมาก และสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยมากกว่า 10 ชนิด เป็นกระรอกที่มีหางพลิ้วเป็นพวงสวยงามมาก
กระรอกแดง ชลบุรี
      กระรอกแดง ชลบุรี กระรอกหลากสี ( Variable Squirrel) เป็นกระรอกขนาดกลางมีสีสันหลากหลายมาก และสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยมากกว่า 10 ชนิด เป็นกระรอกที่มีหางพลิ้วเป็นพวงสวยงามมาก







กระรอกสามสี 

      กระรอกสามสี (Prevost's Squirrel) เป็นกระรอกที่ใหญ่ที่สุดใน สกุล Callosciurus มีลักษณะสีขนที่เด่นชัด โดยหู ส่วนบนของหัว หลัง และหางเป็นสีดำ สีข้างและต้นขาหลังเป็นสีขาว ท้องขาหน้าและปลายขาหลังเป็นสีน้ำตาลแดง บางครั้งอาจพบหางเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลเรียบๆ แก้มมีสีเทาจาง








พญากระรอกสีครีม(เหลือง)
      พญากระรอกสีครีม(เหลือง) (Cream-coloured Giant Squirrel ) เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่าพญากระรอกดำใหญ่เล็กน้อย ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลส้มอ่อนๆ บางชนิดย่อยมีสีเหลืองนวล ลำตัวด้านล่างมีสีน้ำตาลแกมเหลือง และตีนสีน้ำตาล แก้มเป็นสีน้ำตาลเข้ม หางมีสีนำตาลเข้มกว่าลำตัว







พญากระรอกดำ
      พญากระรอกดำ (Black giant squirrel) : จัดเป็นหนึ่งในกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นกระรอกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามตัวและหางมีสีดำสนิท บางตัวอาจมีขนที่สะโพกหรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องเป็นสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เมื่อโตเต็มที่ ลำตัวและหัวจะยาว 33-37.5 เซนติเมตร หางยาว 42.5-46 เซนติเมตร หนักราว 1-1.6 กิโลกรัม



กระรอกเผือก(ขาว)
     กระรอกเผือก(ขาว) เผือก คือ ความผิดปกตินอกเหนือจากสายพันธุ์ที่เขาเป็น ซึ่งอาจมาจากเซลล์ในการผลิตสีทำงานไม่ปกติ ไม่มีเม็ดสี ทำให้ผิว/ขนขาวซีด และตาแดง












กระรอกเผือก(สีครีม)
     กระรอกเผือก(สีครีม) หนึ่งในกระรอกหลากสี จะมีชื่อเรียกต่างๆกันไปตามสถานที่ เช่น เผือกนครสวรรค์ เผือกสระบุรี เผือกเกาะสีชัง ฯลฯ











 กระรอกสวนหรือกระรอกบ้าน

     กระรอกสวนหรือกระรอกบ้าน เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่ากระรอกหลากสี(กระรอกดง) เล็กน้อย ทั่วไปลำตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวส่วนล่างขนสีน้ำตาลแดง ส้ม หรือสีเหลืองนวล









กระรอกสวนหลังดำ
     กระรอกสวนหลังดำ เป็นกระรอกสวนที่มีปื้นสีดำบริเวณหลังส่วนท้าย หางเป็นพวงสวยงาม มีสีแถบสีเนื้อจางๆสลับดำ บางชนิดย่อยปลายหางมีสีดำ บางชนิดปลายหางเป็นสีอ่อน











กระรอกสมิงหลังทอง
     กระรอกสมิงหลังทอง











กระรอกดงธรรมดา
     กระรอกดงธรรมดา

















กระรอกดงเกราะทอง
     กระรอกดงเกราะทอง












กระรอกเทาท้องขาว
     กระรอกเทาท้องขาว












กระรอกแดงท้องขาว
     กระรอกแดงท้องขาว